Edit Content

หาเราได้ที่

Powerpod ก่อตั้งมาขึ้นเพื่อปฏิวัติการออกกำลังกายด้วยวิธีการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตโดยไม่ต้องออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ได้ผลลัพธ์ที่ดี

ลูกค้าของ Powerpod ลองใช้ Sports Massage เพื่อคลายความเจ็บปวดจากการเล่นฟุตบอล
Elderly exercise

การออกกำลังกายนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ผู้สูงอายุได้มีสุขภาพที่ดี และมีความสุขในการดำเนินชีวิต ในปัจจุบันการออกกำลังกายของผู้สูงอายุมีทั้ง การออกกำลังกายภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญในยิมพร้อมอุปกรณ์ที่ครบครัน และการออกกำลังด้วยตนเองง่ายๆที่บ้าน ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอท่าบริหารร่างกายที่ง่าย ปลอดภัย และสามารถทำได้เองที่บ้าน โดยอุปกรณ์หลักที่ใช้ คือ เก้าอี้ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้สูงอายุที่อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว หรือความสมดุล ท่าออกกำลังกายเหล่านี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องยืนหรือเคลื่อนไหวมากเกินไป

ประโยชน์ของการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

  1. ช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหลังล่าง กล้ามเนื้อส่วนขา กระดูก และข้อ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงจากการล้ม การบาดเจ็บ และยังช่วยให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเองอย่างคล่องแคล่วอีกด้วย
  2. ทำให้มีความยืดหยุ่น และมีการเคลื่อนไหวที่ดีในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน โดยการยืดเหยียด การเคลื่อนไหวของร่างกายในบริบทต่างๆ เช่น ท่ายืดหลัง ก็สามารถช่วยลดการปวดหลัง หรือท่ายืดกล้ามเนื้อ ก็สามารถลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อหลัง และบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้
  3. ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจ และระบบไหลเวียนเลือด โดยการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การเดินเร็ว หรือการปั่นจักรยาน เพื่อช่วยให้มีสุขภาพที่ดีแล้ว ก็ยังช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือด และโรคหัวใจอีกด้วย
  4. ดีต่อสุขภาพจิต เพราะการออกกำลังกายจะช่วยปล่อยสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งสามารถช่วยลดความเครียด และอาการซึมเศร้า อีกทั้งยังสามารถช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายทำให้นอนหลับสบาย และช่วยให้มีการนอนหลับที่ดีขึ้นด้วย
  5. ช่วยทำให้เกิดความสมดุล และความคล่องตัว โดยการออกกำลังกายที่มุ่งเน้นในการฝึกสมดุล เช่น การฝึกโยคะ หรือการเดินบนพื้นไม่เรียบ ซึ่งการฝึกนี้จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการล้ม และทำให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวได้มากขึ้น

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ

  1. ควรเข้าปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกาย
    ผู้สูงอายุควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินสภาพร่างกาย และขอคำแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสม
  2. ควรเริ่มต้นอย่างช้าๆ
    ผู้สูงอายุควรเริ่มต้นการออกกำลังกายอย่างช้าๆ และค่อยๆ เพิ่มความหนักหน่วงเพื่อหลีกเลี่ยงล้ม หรือการบาดเจ็บ
  3. ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสม
    ผู้สูงอายุควรเลือกกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการฝึกการยืดเหยียด ที่เป็นท่าบริหารที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
  4. ควรระมัดระวังการบาดเจ็บ
    ผู้สูงอายุควรระมัดระวังการออกกำลังกายที่อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกน้ำหนักที่หนักเกินไป การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วเกินความจำเป็น หรือท่าออกกำลังกายที่ใช้แรงเยอะเกินไป เป็นต้น

การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการรักษาสุขภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ การออกกำลัง หรือการทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะสามารถช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกาย และจิตใจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้การเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม และการปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือการได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายผู้สูงอายุ ก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพที่สุด